วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553

รูปแบบการส่งสัญญาณข้อมูล


1. แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One – way หรือ Simplex) เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือข้อมูลถูกส่งไปในทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์





2. แบบกึ่งทางหรือครึ่งดูเพล็กซ์ (Either-Way of Two Ways หรือ Half Duplex) การสื่อสารแบบครึ่งดูเพล็กซ์ เราสามารถส่งข้อมูลสวน ทางกัน ได้แต่ต้องสลับกันส่ง จะทำในเวลาเดียวกันไม่ได้ ตัวอย่างเช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจแบบวอล์กกี้-ทอล์กกี้ ซึ่งต้องอาศัยการสลับสวิตซ์เพื่อแสดงการเป็นผู้ส่งสัญญาณ และให้ทางอีกทางหนึ่งเป็นผู้รับสัญญาณคือ ต้องผลัดกันพูด



3. แบบทางคู่หรือดูเพล็กซ์เต็ม (Both-Way หรือ Full Duplex) ในแบบนี้เราสามารถส่งข้อมูลได้พร้อมๆ กันทั้งสองทาง ตัวอย่างเช่น ในการพูดโทรศัพท์ เราสามารถพูดพร้อมกันกับคู่สนทนาได้ การทำงานจะเป็นดูเพล็กซ์เต็ม แต่ในการใช้งานจริงๆ แล้วจะเป็นแบบครึ่งดูเพล็กซ์คือผลัดกันพูด ดังนั้นโทรศัพท์จึงเป็น อุปกรณ์แบบดูเพล็กซ์เต็มที่มีการใช้งานแบบครึ่งดูเพล็กซ์ประโยชน์ในการใช้งานของการ ส่งสัญญาณแบบดูเพล็กซ์เต็มย่อมให้ ประโยชน์ใช้สอยดีกว่า รวมทั้งลดเวลาในการส่ง สัญญาณ เพื่อสลับการเป็นผู้ส่งในแบบครึ่งดูเพล็กซ์ อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ ของระบบการส่งสัญญาณแบบดูเพล็กซ์เต็มย่อมแพงกว่า และยุ่งยากกว่า



4. แบบสะท้อนสัญญาณหรือเอ็กโคเพล็กซ์ (Echo Plex) ในระหว่างการคีย์ข้อความหรือคำสั่งที่คีย์บอร์ดเพื่อให้โฮสต์คอมพิวเตอร์ รับข้อความหรือทำตามคำสั่งข้อความหรือคำสั่งก็จะปรากฏขึ้นที่จอภาพของเทอร์มินัล ด้วยเช่นกัน เนื่องจากขณะที่สัญญาณตัวอักขระที่ถูกส่งจากคีย์บอร์ดไปยัง โฮสต์ซึ่งเป็นแบบดูเพล็กซ์เต็ม จะถูกสะท้อนสัญญาณให้กลับมาปรากฏที่จอภาพของ เทอร์มินัลเองด้วย ทำให้ผู้ใช้สามารถรู้สึกไปพร้อมๆ กันกับที่โฮสต์ทำงาน





http://www.blmiacec.ac.th/E-learning/datacom/UNIT2.HTM
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech04/24/n1_217.html